วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มารู้จักกลอยกัน


 


กลอย จัดเป็นพืชล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมบริโภคมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในประเทศไทยมักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างโปร่ง หัวกลอยฝังอยู่ใต้ดินตื้น ๆ หัวใหญ่ ๆ โตได้เท่ากับไหกระเทียม กลอยมีอาหารจำพวกแป้งนจะแบ่งง่ายๆตามลักษณะของลำต้นและตามสีในเนื้อหัวกลอยกล่าวคือกลอยข้าว เจ้าจะมีลักษณะของ เถาและก้านใบสีเขียวส่วนกลอยข้าวเหนียวมีเถาสีน้ำตาลอมดำ ลักษณะใบของกลอยทั้งสองชนิดมี3 แฉก คล้ายใบถั่ว เส้นใบถี่ส่วนเถาจะมีหนามแหลมตลอดเถาดอกออกเป็นช่อมีดอกย่อยดอกเล็กๆสีขาว จำนวนมากหัวกลอยจะฝังในดิน ตื้นๆ มีหลายหัวติดกันเป็นกลุ่ม เท่าที่พบมีตั้งแต่3หัวถึง14หัวใน1กอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกลอยวัด ได้ตั้งแต่2.5ซมถึง25ซม.
มี ชื่อพื้นเมืองต่างๆเช่นกลอยมันกลอยกลอยข้าวเหนียวกลอยหัวเหนียวก๋อยนกกอยหัว กลอยและกลอยนก เป็นต้น เมื่อนำหัวกลอยมาปลอกเปลือกและหันเป็นแว่นบางๆ จะพบว่ากลอยข้าวเจ้าจะมีเนื้อสีขาวนวลและเนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียวซึ่ง มีสีเหลืองอ่อมถึงเหลืองเข้ม(สีทอง)เนื้อเหนียวและรสชาดดีกว่ากลอยข้าวเจ้า ซึ่งมีเนื้อร่วยซุย ฉะนั้นชาวบ้านหรือเกษตรกรจึงนิยม รับประทานกลอยข้าวเหนียวมากกว่ากลอยข้าวเจ้า
เนื่องจากกลอยเป็นพืชแป้งที่มีพิษอย่างแรงเพราะในเนื้อแป้งมีสารไดออสคอรีน(Dioscorine)ฉะนั้น ถ้านำมารับประทานโดยไม่ทำลายสารพิษก่อนจะทำให้เกิดอาการเบื่อเมาเพราะสารนี้ จะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้เป็นอัมพาตถ้ารับประทานสดๆ ขนาดเท่าผลมะม่วงอกร่องจะทำให้ตายภายใน6ชั่วโมง วิธีเอาสารพิษ(Dioscorine)ออกจากกลอย ก่อนนำไปบริโภควิธีการทั่วๆไปคือปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น แต่ละแว่นหนาประมาณ1-1.5ซม.นำหัวกลอยที่ หั่นแล้วใส่ในภาชนะ ใส่ชิ้นกลอยที่หั่นแล้วลงไปในภาชนะหนาประมาณ10ซม. โรยเกลือให้ทั่วหน้า1-2ซม.แล้ว ใส่ชิ้นกลอยลงไปทำสลับกับเกลือ จนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืนวันรุ่งขึ้นนำกลอยที่หมักออกมาล้างน้ำ ให้สะอาดใส่ชิ้นกลอยที่ล้างแล้วลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง นำของหนักทับไว้เพื่อไล่น้ำเบื่อเมาของกลอยออกให้หมดหลังจากนั้นนำชิ้นกลอย จากถุงผ้าเทกลับลงไปในภาชนะเดิมใส่น้ำให้ท่วมเนื้อกลอย ทิ้งไว้ค้างคืนรุ่งเช้าจึงนำชิ้นกลอยมาล้างให้สะอาดและทำเช่นเดิม ประมาณ5-7วัน จึงจะปลอดภัยจากสารพิษและนำมาบริโภคหรือ ปรุงอาหารได้หรือจะผึ่งแดดให้แห้งเก็บตุนไว้เมื่อจะบริโภคจึงนำ ชิ้นกลอยมาแช่น้ำนำไปนึ่งหรือปรุงอาหารอื่นรับประทานได้
ทั้งหมดนี้ บ่งบอกให้เห็นถึงความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา อย่างช้านาน ซึ่งกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ากรรมวิธีแบบนี้จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์และบริโภคได้ ต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์วิจัยทดลองมาหลายชั่วอายุคนหรือมีการทดสอบทดลอง โดยใช้ชีวิตมากี่สิบคนแล้ว...
ขอบคุณ ข้อมูลและภาพบางส่วนจากศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทยสวทช. และจากงานประจำปี SCG ลำปาง, สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น